วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ให้เปรียบเทียบคุณสมบัติเฉพาะของ CPU ต่อไปนี้


1. CPU แบบ Quad Core

ตอบ quad core เป็นคำที่ใช้เรียกรวมทั้งบอกสถานะของโปรเซสเซอร์นั้นๆ ว่าเป็นหน่วยประมวลผลที่มี 4 แกน (คอร์) ซึ่งจะเป็นยี่ห้อไหนก็ได้ เช่น amd phenom ll x4 หรือ intel core 2 Quad นั่นเอง รวมทั้ง core i7 ของอินเทลก็คือ Quad core processer เหมือนกัน เพราะถึงจะมี 8 เธรดแต่มีแกนประมวลผลหลักแค่ 4 แกน และตามหลักความเข้าใจเดียวกัน



อ้างอิง : http://www.numsai.com



2. Core 2 Duo



หายหน้า หายตากันไปน้าน นาน หลายสัปดาห์ วันนี้น้ำใส ดอทคอม กลับมาพร้อมกับบทความดีๆ บทความที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งไกล้ตัวที่เราควรจะเรียนรู้และเข้าใจการทำงาน และแน่นอนเรื่องที่จะเขียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในวันนี้ เป็นเรื่องของ ซีพียู Intel Core 2 Duo มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ โครงสร้าง และประสิทธิภาพของ CPU ตัวนี้กันว่าจะโดดเด่นกว่าตัวก่อนหน้ามากน้อย แค่ใหน
คุณลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของ Intel Core2 Duo
Intel Core 2 Duo Mobile Processor สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับชิปเซตล่าสุดตระกูล 945 Express จาก Intel ถูกผลิตขึ้นภายใต้เทคโนโลยีขนาด 65 mm สนับสนุนการทำงานของ Front Side Bus ขนาด 533 และ 677 MHz มีคุณลักษณะการทำงานที่น่าสนใจดังนี้
  • เป็นซีพียูแบบ Duo Core ที่ถูกออกแบบสำหรับติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมเมื่อเทียบกับรุ่นที่ใช้กับเครื่องเดสก์ท้อป
  • เป็นสถาปัตยกรรม 64 บิตของ Intel
  • สนับสนุนสถาปัตยกรรมเดิมที่มีอยู่แล้วของ Intel รวมทั้งระบบการทำงาน Dynamic Execution
  • ติดตั้งหน่วยความจำ Cache ระดับ L1 ทั้งชนิดที่ใช้กับคำสั่งและข้อมูลอย่างละ 34 KB บนแม่พิมพ์ (Die) เดียวกัน ทำงานแบบ Primary (มีลำดับความสำคัญในการทำงานสูงกว่า)
  • ติดตั้งหน่วยความจำ Cache ระดับ L2 ขนาด 4 MB ชนิดที่ถูกแบ่งใช้งานโดย Core ทั้งสอง และสถาปัตยกรรมแบบ Advanced Transfer Cache
  • ติดตั้งระบบ Prefetch Logic (ระบบการเตรียมเข้าหาคำสั่งหรือข้อมูลแบบล่วงหน้า)
  • สนับสนุนการทำงานของ SIMD Extension 2 (SSE2) และ Streaming SIMD Extension 3 (SSE3) รวมทั้ง Supplement Streaming SIMD Extension 3 (SSE3)
  • สามารถรองรับระบบ Front Side Bus ขนาด 533 และ 667 MHz
  • มีระบบการบริหารจัดการพลังงานที่ล้ำหน้า รวมทั้งเทคโนโลยี SpeedStep ที่ล้ำหน้าเช่นกัน
  • สามารถเข้าสู่สถานะ Enhanced Deeper Sleep Modeรวมทั้งระบบการแบ่งใช้งาน Cache ให้กับ Core ทั้งสองอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ติดตั้งระบบตรวจสอบความร้อนแบบดิจิทัล
  • ติดตั้งบนตัวถังแบบ Micro-FCPGA และ Micro-FCBGA
  • ใช้เทคโนโลยี Virtualization ของ Intel
  • ตารางแสดง คุณลักษณะของ Intel® Core™2 Duo mobile processor
Intel Core 2 Duo ทำงานได้ดีกว่าโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนอย่างไง
ด้วยสถาปัตยกรรมย่อส่วนชุดประมวลผลของ Intel® โปรเซสเซอร์ที่ได้จึงมีคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้
  • Intel® Wide Dynamic Execution
  • Intel® Advanced Smart Cache
  • Intel® Smart Memory Access
  • Intel® Advanced Digital Media Boost
  • Intel® Intelligent Power Capability
1.Intel® Wide Dynamic Execution
การใช้งาน   ประมวลผลได้ 4 ชุดคำสั่งต่อรอบสัญญาณนาฬิกา
  • เทียบกับ 3 ชุดคำสั่งต่อรอบในกรณีของ Intel Netburst®, Intel Mobile และสถาปัตยกรรมย่อส่วนของคู่แข่ง
ข้อดี  ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่าสำหรับแอพพลิเคชั่นและสภาพแวดล้อมในการใช้งานต่าง ๆ
  • รองรับแอพพลิเคชั่นแบบ multithread และแบบ single
  • จัดทำเนื้อหา
  • ความบันเทิง / เกม
  • สร้างผลงาน
2.Intel® Advanced Smart Cache
การใช้งาน เพิ่มประสิทธิภาพของแคช L2 เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลในชุดประมวลผลของโปรเซสเซอร์
  • สามารถกำหนดแคช L2 ให้กับชุดประมวลที่ต้องการ (เทียบกับแคช LD แยกเฉพาะสำหรับชุดประมวลผลในส่วนของ PDP และ AMD* K8 DC)
ข้อดี  ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่าสำหรับแอพพลิเคชั่นและสภาพแวดล้อมในการใช้งานต่าง ๆ
  • รองรับแอพพลิเคชั่นแบบ multithread และแบบ single
  • จัดทำเนื้อหา
  • ความบันเทิง / เกม
  • สร้างผลงาน
3.Intel® Smart Memory Access
การใช้งาน   จ่ายข้อมูลไปยังเอนจิน Intel Wide Dynamic Execution ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มขีดความสามารถของหน่วยความจำหลักในการรองรับแบนด์วิธกับโปรเซสเซอร์และลดระยะเวลาเรียกค้นข้อมูล
ข้อดี  ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่าสำหรับแอพพลิเคชั่นและสภาพแวดล้อมในการใช้งานต่าง ๆ
  • รองรับแอพพลิเคชั่นแบบ multithread และแบบ single
  • จัดทำเนื้อหา
  • ความบันเทิง / เกม
  • สร้างผลงาน
4.Intel® Advanced Digital Media Boost
การใช้งาน   รองรับคำสั่งแบบ 128 บิต SSE/2/3 สำหรับประมวลผลในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา
  • ประมวลชุดคำสั่งเดียวกันใน 2 รอบนาฬิกา สำหรับ Intel Netburst(R), Intel Mobile และสถาปัตยกรรมย่อส่วนของคู่แข่ง
ข้อดี  ประสิทธิภาพสำหรับแอพพลิเคชั่นที่ใช้คำสั่ง SSE ที่มากกว่าเดิม ทั้งในส่วนของ
  • วิดีโอ เสียง เกม มัลติมีเดีย กระประมวลผลภาพ
  • การเข้ารหัส ข้อมูลการเงิน
  • งานด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์
5.Intel® Intelligent Power Capability
การใช้งาน
  • Conroe 65W desktop mainstream TDP
  • Woodcrest 80W server mainstream & 40W ultra dense TDP
  • ยังคงเป็นสถาปัตยกรรมพกพาที่ใช้พลังงานต่ำ
ข้อดี  ช่วยให้สามารถออกแบบระบบที่ทำงานได้เงียบและมีประหยัดไฟกว่าเดิมช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานโดยรวม
ทำไมต้องเป็น Dual Core Processor ?
Yonah : Pentium M ที่มี 2 Cores
ซีพียูชนิดที่มี 2 core หรือมากกว่าจัดได้ว่าเป็นซีพียูแห่งอนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีแห่งอนาคต (ซึ่งกลายมาเป็นปัจจุบันในขณะนี้) จะไม่หันกลับไปมองหาวิธีการจัดสร้างซีพียูภายใต้เทคโนโลยีความถี่ที่สูงกว่าอีกต่อไป เนื่องจากมีปัญหาตามมามากมาย เช่น การสิ้นเปลืองพลังงาน การระบายความร้อน ความไม่เสถียรเมื่อทำงานที่มีความถี่สูง รวมทั้งการออกแบบ Mother Board ที่มีลายเส้นของวงจรที่ต้องระมัดระวังในเรื่องสัญญาณรบกวนมากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนแต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
การเพิ่มจำนวน Core ไปที่ซีพียูจะทำให้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวณ โดยไม่ต้องเพิ่มความถี่สัญญาณนาฬิกาเหมือนแต่ก่อน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของแอพพลิเคชันในปัจจุบันล้วนแต่สนับสนุนการทำงานที่มีระบบการประมวลผลหลาย ๆ ตัวอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการสนับสนุนระบบการทำงานของ Multi – Threading ของระบบปฏิบัติการ Windows เป็นต้น โดยการทำงานหลาย ๆ ชิ้นภายใต้แอพพลิเคชันเดียวกันสามารถส่งกระจายไปตาม Core ของ ซีพียูต่าง ๆ และประมวลผลพร้อมกัน
ความคิดดั้งเดิมที่ว่าการที่มี Core ของซีพียูถึง 2 Core บนชิปเดียวกัน จะทำให้การเพิ่มการกินกระแสไฟมากกว่าเดิมเท่าตัว ล้วนเป็นความคิดที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอย่างมาก เพียงแต่ใช้พลังงานมากกว่าซีพียูที่มี Core เดียวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงานที่ดีกว่า เช่น สามารถปิดการจ่ายพลังงานให้กับบางส่วนของ Core ที่ไม่ได้มีการใช้งาน รวมทั้งการใช้ L2 Cache เพียงชุดเดียว และแบ่งใช้งานกันระหว่าง Core ทั้งสอง ซึ่งทำให้ลดขนาดของวงจร และแน่นนอนสิ้นเปลืองน้อยกว่า แต่ผลที่ท่านได้จะเท่ากับมีซีพียูถึง 2 ตัวจริงบน Mother Board เดียวกันที่กินกระแสไฟมากกว่า
เทคโนโลยี่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของซีพียู
เทคโนโลยี SpeedStep
SpeedStep เป็นประสิทธิภาพการทำงานของซีพียูที่ต้องการ การสนับสนุนจาก BIOS และระบบปฏิบัติการ เมื่อใดที่เทคโนโลยีนี้ถูกเรียกออกมาใช้งาน ระบบปฎิบัติการจะกระตุ้นระบบจ่ายสัญญาณนาฬิกาของซีพียูให้ลดความเร็วลงได้ โดยการลดค่าตัวคูณ (Multiplier) ที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการทำงานของซีพียูลง (ค่า Multiplier) ที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการทำงานของซีพียูลง (ค่า Multiplier นี้ ปกติสามารถตั้งค่าได้ใน BIOS) สำหรับ Pentium D และ Pentium 4 จะได้รับการปรับแต่ง Multiplier ให้มีค่าเป็น x14 ในกรณีที่มีการใช้ Front Side Bus ขนาด 800 MHz (FSB800) หรือใช้ System Clock เป็น 200 MHz เพื่อให้ได้ความเร็วในการทำงานที่ 2.8 GHz และเนื่องจาก ซีพียูแบบ Duo Core มีการใช้แรงดันไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ระบบบัสที่มีความเร็วสูงทำให้เกิดการปรับแต่งตัวคูณภายในตัวซีพียูเพื่อให้ได้อัตราความเร็วที่เหมาะสม Core 2 Duo ที่นำเทคโนโลยี SpeedStep ออกมาใช้งานจะถูกจัดตั้งตัวคูณที่มีค่าเป็น x6 โดยอัตโนมัติ หากติดตั้งระบบ System Bus ที่ความเร็ว 266 MHz (ความเร็วของระบบ System Bus สามารถตั้งค่าได้โดยกำหนดตำแหน่งของจั๊มเปอร์บน Mother Board) เพื่อให้ซีพียูทำงานที่ความเร็ว 1.6 GHz ภายใต้ Front Side Bus ขนาด 1066 GHz ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันแรงดันไฟฟ้าเลี้ยงให้กับแกนประมวลผลของซีพียูหรือ Core Voltage จะถูกปรับให้มีค่าเป็น 0.9 V การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้สามารถลดการกินกระแสไฟรวมทั้งสามารถลดความเร็วที่จะแผ่ออกมาจากซีพียูลงได้ เราเรียกลักษณะการทำงานเช่นนี้ว่า Dynamic Power Coordination
Dynamic Power Coordination
เช่นเดียวกับซีพียูที่ผลิตขึ้นก่อนหน้านี้ ได้แก่ Dothan และ Banias (ชื่อที่เป็นรหัสเรียกขานของซีพียูของ Intel รุ่นก่อนหน้านี้) ซึ่งสามารถปรับแต่งค่าแรงดันไฟที่ใช้จ่ายเลี้ยงไปที่แกนหรือ Core ของซีพียูได้ อีกทั้งยังสามารถปรับค่าความถี่ให้สอดคล้องกับแอพพลิเคชั่นที่ท่านกำลังใช้งานอยู่ได้ โดยกระบวนการทำงานเช่นนี้เรียกว่า Enhanced SpeedStep ซึ่งถูกนำมาใช้งานกับ Dothan และ Banias แต่สำหรับ Yonah แล้ว กระบวนการนี้ได้รับการปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความเสถียรภาพในการทำงาน ซึ่งจะถูกเรียกกระบวนการ Dynamic Power Coordination ภายใต้กระบวนการทำงานแบบ Dynamic Power Coordination อัตราความเร็วรวมทั้งแรงดันไฟที่ใช้จ่ายเลี้ยงไปที่ Core ถูกกำหนดขึ้นโดยตัว Core ที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนี้ หาก Core ที่หนึ่งทำงานที่ 2 GHz แล้ว Core ตัวที่สองจำทำงานที่ความเร็วเท่ากันรวมทั้งจะมีความต้องการแรงดันไฟฟ้าจ่ายเลี้ยงไปที่ Core เท่ากันด้วย โดยไม่คำนึงว่า Core ที่สองกำลังทำงานอยู่หรือไม่ และเมื่อใดที่ Core ที่หนึ่งมีการลดความเร็วรวมทั้งแรงดันไฟลง Core ตัวที่สองก็จะดำเนินการเช่นเดียวกับ Core ตัวที่หนึ่ง
เทคโนโลยี Smart Cache
ตรงข้ามกับซีพียู Duo Core ที่ทำงานแบบ Pentium D 900 ที่ถูกออกแบบให้ใช้งานบนเครื่องพีซีในระดับเดสก์ท้อปตรงที่ Yonah มีหน่วยประมาวลผล 2 ชุดที่ทำงานโดยอิสระต่อกัน แต่ก็แบ่งใช้งาน L2 Cache ที่มีขนาด 2 MB ชุดเดียวกัน และชุดประมวลผลดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บน Die เดียวกัน รวมทั้งใช้ front Side Bus ชุดเดียวกัน เพื่อการติดต่อสื่อสารกับ L2 Cache รวมทั้งชิปเซตที่อยู่ภายนอกซีพียู อีกทั้งนำมาใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างกันภายใน โดย Intel จะเรียกการแบ่งใช้งานL2 Cache นี้ว่า Smart Cache
ขณะเดียวกัน Pentium D 900 ซีพียูที่ถูกออกแบบมาใช้กับพีซีระดับเดสก์ท้อปจะมี L2 Cache สำหรับ Core ทั้งสอง หมายความว่า แต่ละ Core จะมี L2 Cache ขนาด 2 MB เฉพาะเป็นของตนเองไม่ต้องแบ่งใช้งานแบบที่ใช้ใน Yonah และ Core ทั้งสองก็ยังเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างกันด้วย Front Slide Bus ที่มีอยู่ภายใน
เมื่อเป็นเช่นนี้อาจต้องตั้งคำถามว่าในเมื่อ Yonah ต้องแบ่งใช้งาน L2 Cache ขนาด 2 MB ให้กับ Core ทั้งสองแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ระบบ Smart Cache จะมีประโยชน์หรือน่าสนใจอย่างไรบ้าง? คำตอบคือ สมมติว่า Yonah มีข้อได้เปรียบในเรื่องความผิดพลาดที่น้อยกว่า Pentium D 900 ซึ่งมี L2 Cache เฉพาะ Core ที่มีอยู่สอง ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าหาก CPU Core ทั้งสองทำงานพร้อมกันในลักษณะขนานกัน ซึ่งจะเห็นได้จากการใช้งาน Imag e Filtering ใน Photoshop ในกรณีเช่นนี้หากซีพียูทั้งสองต่างก็ใช้ L2 Cache ที่มีอยู่ของตนเอง ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ ข้อมูลที่ต้องใช้ซ้ำ ๆ กันเป็นประจำ ซึ่งต้องอาศัย Cache นั้นจะถูกนำไปเก็บที่ L2 Cache ของ Core ใด? รวมทั้งจะต้องทราบอีกว่าขณะนี้สถานะของ Cache เป็นอย่างไร ? เพื่อที่จะไม่ต้องมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนข้อมูลลงใน Cache ซ้ำ ๆ กันลักษณะเช่นนี้จะต้องมีการตรวจสอบสถานะของ Cache อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เสียเวลาเพิ่มมากขึ้น การใช้ L2 Cache เฉพาะ Core จะมีประโยชน์มากก็ต่อเมื่อต้องการใช้เนื้อที่ Cache มากกว่า 2 MB ขึ้นไป การใช้ L2 Cache ที่แบ่งใช้งานให้กับ Core ทั้งสองจะช่วยให้เกิดการสื่อสารระหว่าง Core ด้วยความเร็วที่สูงกว่า เนื่องจากเป็นการสื่อสารบนชิปตัวเดียวกัน อีกทั้งการแชร์ใช้ระบบ Front Side Bus เดียวกันเพื่อสื่อสารกับ L2 Cache ร่วมกัน จะช่วยลดปริมาณของการสัญจรไปมาของข้อมูลหรือ Traffic น้อยกว่า ทำให้กินกระแสไฟที่น้อยกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า นอกจากนี้จากนี้การทดสอบในห้องปฏิบัติการบางแห่งที่มีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้งาน L2 Cache ของซีพียูทั้งสองรุ่น พบว่าการเกิด Cache Miss (การค้นหาข้อมูลไม่พบ Cache) ภายใต้การทำงานของ Pentium D 900 สูงกว่า Yonah เล็กน้อยดังนั้นเท่ากับว่า Yonah สามารถใช้งาน Cache ชนิดเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่า ยิ่งไปกว่านั้นระบบ Smart Cache และ Dynamic Power Coordination ยังสามารถควบคุมการจ่ายไฟเลี้ยงไปที่ส่วนของ Cache ที่ไม่ได้ถูกใช้งาน ดังนั้นทำให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงานลงได้
ดังที่กล่าวแล้วว่าการเปลี่ยนสถานะการทำงานจาก SpeedStep Mode ไปสู่สถานะการทำงานอื่น ๆ สามารถทำได้ ซึ่งเกิดขึ้นจากการประสานงานระหว่าง Core สถานการณ์นี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหาก Core ทั้งสองของซีพียูได้รับการจ่ายกระแสไฟฟ้าน้อยลง เนื่องจากมีการทำงานน้อยลงเช่นกัน Intel เรียกสถานการณ์เช่นนี้ว่า Lowest Frequency Mode หรือ LFM ซึ่งเป็นโหมดการทำงานที่ซีพียูทำงานที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ต่ำ เอกสารทางเทคนิคของ Intel ได้กำหนดรหัสเรียกให้กับระดับการกินกระแสไฟฟ้าในซีพียูตั้งแต่รหัส C0 – C4 เมื่อใดก็ตามที่ซีพียูทำงานที่ความถี่ต่ำ ระบบการจัดการพลังงานในซีพียูจะรักษาให้ Core 1 ทำงานที่ระดับ C0 แต่จะปิดการจ่ายสัญญาณนาฬิกาแก่ Core 2 ลักษณะเช่นนี้ Core ที่ 2 จะอยู่ในระดับ C2 และหาก Core ทั้งสองอยู่ในสถานะ Deep Sleep Mode (C3) ตัว Core ทั้งสองจะสามารถเข้าสู่ระดับ Sleep Mode ที่ลึกกว่าเดิม ซึ่งเราเรียกว่า C4
มีระบบควบคุมการจ่ายพลังงานที่มีประสิทธิภาพ
ซีพียู Core 2 Duo สามารถปิดการจ่ายไฟเลี้ยงให้กับส่วนอื่น ๆ ของซีพียูที่ไม่ได้ใช้งานในขณะนั้น เช่น หน่วยคำนวณที่เกี่ยวกับจุดทศนิยม (FP) หรือหน่วยร้องขอคำสั่ง (Instruction Fetch) ดังรูปที่ 9ซีพียูที่ไม่ได้ทำงานในขณะนั้นจะถูกปิดการจ่ายไฟเลี้ยงไปที่หน่วยต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้ลดการกินไฟลงได้ส่วนหนึ่ง รวมทั้งอายุการใช้งานของซีพียูจะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
มีระบบ Front Side Bus ที่เร็วกว่า
เนื่องจาก Core ทั้งสองซีพียูสามารถนำมาซึ่งการเข้าถึง (Access) เพื่อใช้งานหน่วยความจำได้มากกว่าปกติ เมื่อเป็นเช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาคอขวดบน Front Side Bus เนื่องจาก Core ทั้งสองต่างแย่งใช้ระบบ Front Side Bus เพื่อเข้าถึงหน่วยความจำ Intel จึงกำหนดให้ Front Side Bus ที่เดิมใช้ความเร็ว 133 MHz เป็น 166 MHz แทน นอกจากนี้ Intel ยังใช้โปรโตคอลใหม่ ๆ ที่ช่วยเร่งอัตราความเร็วของข้อมูลเป็น 4 เท่า ทำให้มีการส่งถ่ายข้อมูล 4 ครั้ง ต่อหนึ่งรอบการทำงาน ผลดีคือระบบ Front Side Bus จะถูกเรียกเป็น FSB667 ซึ่งจะช่วยให้สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารที่ความเร็ว จากเดิม 4.2 GB/s ไปเป็น 5.3 GB/s ซึ่งเป็นความเร็วที่ถือว่ายังสามารถรับได้ เนื่องจากหากติดตั้ง DDR2-667 ซึ่งสามารถรองรับการทำงานที่ความเร็ว 10.67 GB/s
ลักษณะเช่นนี้การใช้ DDR2-667 ก็เพียงพอสำหรับระบบ Front Side Bus ที่มีความเร็วขนาดนี้ อย่างไรก็ดีอาจไม่ต้องถึงกับไปหาซื้อ DDR2-667 แต่สามารถใช้ DDR2-553 ได้ เนื่องจากสามารถรองรับการถ่ายเทข้อมูลที่ความเร็ว 8.5 GB/s ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าแม้ว่าจะมีการใช้ระบบ Front Side Bus 667 ในระบบ Dual Core CPU ก็ตาม ยังสามารถใช้ DDR2-553 ได้อย่างแน่นอน และสำหรับโน้ตบุ๊ก เพียงเลือกซื้อ DDR2-553 SODIMM ก็พอ เนื่องจาก DDR2-667 มีราคาแพงกว่า และไม่ได้ช่วยให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กทำงานได้เร็วขึ้นแต่อย่างใด
สถาปัตยกรรมชิปเซต
ชิปเซตตระกูล 975 Express
Mobile Intel 945 Express Chipset เป็นรุ่นชิปเซตรุ่นถัดไปสำหรับสถาปัตยกรรมชิปเซตแบบ Hub Architecture ถูกออกแบบมาใช้กับ Intel Centri no Duo Mobile ตัวชิปเซตนี้ได้รวบรวมวงจรควบคุมการทำงานของระบบแสดงทางกราฟิกไว้ในตัวเดียวกัน โดยเฉพาะหากเป็นรุ่น 945GM/GMS หรือแบบ Discrete Graphic (รุ่น 945PM) รายละเอียดโดยคร่าวของชิปเซตในตระกูลนี้มีดังนี้
Mobile Intel 945GMS Express
เป็นชิปเซตที่กินกระแสไฟฟ้าน้อยกว่าชิปทั่วไปถึง 28% ภายในติดตั้งเทคโนโลยีแสดงผลที่เรียกว่า Intel Graphic Media Accelerator 950 ความสามารถของระบบภาคแสดงผลที่มีอยู่ในชิปเซตรุ่นก่อน ๆ อัตราความเร็วในการถ่ายข้อมูลสูกกว่าชิปเซตรุ่นก่อนหน้านี้ถึง 25% รวมทั้งสนับสนุนการติดตั้ง PCI Express x1 ซึ่งเป็น I/O Port นอกจากนี้ยังสนับสนุนการติดตั้ง SATA รุ่นใหม่ รวมทั้ง USB เวอร์ชั่น 2.0
Mobile Intel 945GMS Express Chipset
จัดเป็นชิปเซตที่มีประสิทธิภาพสูง ให้การสนับสนุน ให้การสนับสนุนการติดตั้งหน่วยความจำ DRAM ที่มีประสิทธิภาพสูง อย่างเช่น Dual-Chanel DDR2-667 Mhz อีกทั้งยังสนุน PCI Express X16 ซึ่งเป็น I/O port รวมทั้งสนับสนุนการติดตั้ง Serial ATA ยุคที่สอง รวมทั้ง USB เวอร์ชั่น 2.0 นอกจากนี้ยังสนับสนุนการทำงานเทคโนโลยี ActiveManagement ของ Intel ซึ่งเป็นระบบควบคุมดูแลการทำงานของ Remote Client Network ยุคใหม่ที่ใช้กับธุรกิจ
Mobile Intel 945GMS Express Chipset
เป็นชิปเซตที่ออกมาเพื่อให้สามารถติบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ขนาดเล็ก กระทัดรัด เป็นรุ่นที่กินไฟต่ำมาก และสามารถใช้งานได้ดีร่วมกับ Core 2 Duo ซีพียูรุ่น Ultral Low Voltage รวมทั้ง Intel Celeron M processor รุ่นที่กินไฟต่ำ
สำหรับ CPU ในรุ่นนี้มีให้เลือกใช้อยู่หลายตัว ความเร็ว และราคาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ และความต้องการในการใช้งาน

อ้างอิง : http://www.numsai.com






 3.CPU Core i3

Intel-Core-i3
สวัสดีครับมิตรรักแฟนเพลงสาวก Cpu Intel วันนี้ผมจะมาเจาะลึกกับ cpu ที่เราเรียกว่า Core i3 นั่นเอง ถามว่ามันคืออะไร หลายคนคงงงและได้แต่ตอบว่ามันเป็นแค่ Cpu ตัวหนึ่งในตระกูล Intel ที่ต่ำสุดในตระกูล Core i5,i7 แต่ประสิทธิภาำพถามว่าเป็นไงละครับ ตามมาดูกันเลย
Core i3 นั่นมีใช้เทคโนโลยีใหม่ของ Intel Graphics Media Accelerator HD เพื่อให้ได้ประสิทธิ์ภาำพการใช้งานที่สูงสุด โดย Function ตัวนี้ทำให้เล่น VDO ในระดับ HD ให้ราบรื่นที่สุดและความสามารถในด้านการใช้งานของ 3D เพื่อให้ไม่ขัดใจในการที่เราจะทำงาน และยังมี Techology ใหม่ของ Intel ก็คือ Intel Hyper-Threading Techology เพื่อให้การประมวลผล 2 Threads/ 1Core เพื่อรีดประสิทธิภาพของ CPU ออกมาให้ได้มากที่สุด ทำให้แต่ละ Core ของ Processor ทำงาน2งานได้เวลาเดียวกัน
Specifications Core i3 
Notebook

core i3-nb

  อ้างอิง : http://www.itithai.com





4.Intel Core i5 

core-i5-box
ในที่สุดอินเทลก็ได้ทำการเปิดตัวซีพียู Core i5 และซีพียู Core i7 รุ่นเล็กที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งห่างจากการเปิดตัว Core i7 ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1366 นานเกือบหนึ่งปีเลยทีเดียว โดยซีพียูทั้งหมดนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาจากสถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า Nehalem นั่นเอง
ข้อตกลงเบื้องต้นป้องกันสับสน
เนื่องจากบทความชุดนี้จะมีบรรดาชื่อเรียกซีพียูมากมายหลายอย่าง หลายรุ่น ทั้งชื่อสถาปัตยกรรม ชื่อรหัสในการพัฒนาซีพียู ชื่อรุ่นของซีพียูต่างๆ ที่เป็นตัวเลข และยังมีชื่อของซ็อกเก็ตแบบ LGA1156 กับ LGA1366 อีก ดังนั้นเราจึงขออธิบายชื่อเรียกต่างๆ ไว้ตรงนี้ก่อนเลยก็แล้วกันนะครับ
· Nehalem – หมายถึงชื่อของสถาปัตยกรรมหลักของซีพียู
· Boomfield – คือชื่อรหัสของซีพียู Core i7 ที่เป็น Socket LGA 1366 หรือซีพียู Core i7 ที่มีชื่อรุ่นในอนุกรม 900 นั่นเอง (ซึ่งเราจะเรียกกันย่อๆ ว่า Core i7-900)
· Lynnfield – คือชื่อรหัสของซีพียู Core i5 และ Core i7 ที่มีชื่อนุ่นในอนุกรม 800 (ซึ่งเราจะเรียกกันย่อๆ ว่า Core i7-800) โดยกลุ่มซีพียูที่ใช้ชื่อรหัสว่า Lynnfield นั้นจะเป็นซีพียูที่ใช้ซ็อกเก็ตแบบ LGA1156
· Ibex Peak – เป็นชื่อรหัสของชิปเซต P55 Express ที่ใช้งานร่วมกับซีพียู Lynnfield

Nehalem-blockรูปนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมของ Nehalem นั้น ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นซีพียูในลักษณะต่างๆ ได้ เปรียบเสมือนกับมีบล็อกสำหรับทำหน้าที่ต่างๆ และถ้าต้องการใช้งานแบบไหนก็นำบล็อกที่ต้องการไปประกอบกันเท่านั้นเอง

ความเหมือนและความแตกต่างของ Core i5, Core i7-800 และ Core i7-900
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าซีพียู Core i7-900 (Boomfield) กับซีพียู Core i5 และ Core i7-800 (Lynnfield) นั้นมีต้นกำเนิดเดียวกันคือใช้สถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า Nehalem แต่ว่าด้วยความยืดหยุ่นในการออกแบบของสถาปัตยกรรมของ Nehalem เองนั้นจึงทำให้อินเทลสามารถที่จะสร้างซีพียูที่มีความแตกต่างกันออกมาได้ถึงสองแบบในเวลานี้นั่นก็คือ Boomfield กับ Lynnfield
สาเหตุที่อินเทลต้องออกแบบสถาปัตยกรรม Nehalem ให้มีความยืดหยุ่นมากเป็นพิเศษก็เพราะว่า ในช่วงของการพัฒนา Core 2 นั้น อินเทลพบว่าจำเป็นต้องพัฒนาซีพียูที่ค่อนข้างจะหลากหลายอย่างมากเพื่อที่จะสำหรับซีพียูสำหรับตลาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาดเดสก์ท็อป (Conroe) ตลาดโน้ตบุ๊ก (Merom) ตลาดเซิร์ฟเวอร์ (Woodcrest) และตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้หลายโปรเซสเซอร์ก็ยังต้องมีซีพียูแยกออกมาอีก (Tigerton) ทั้งๆ ที่โดยพื้นฐานแล้วความแตกต่างของซีพียูในระดับเซิร์ฟเวอร์นั้นไม่ควรจะต่างกันมากนัก
เมื่อเป็นแบบนี้พอมาเป็น Nehalem อินเทลจึงได้คำนึงถึงเรื่องของความหลากหลายของตลาดมากขึ้น อย่างเช่นการใช้ระบบบัสแบบ QPI ที่เหมาะกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง และต้องการใช้งานในลักษณะหลายโปรเซสเซอร์ แต่ว่า QPI ไม่เหมาะกับคอมพิวเตอร์ในระดับเดสก์ท็อป หรือโน้ตบุ๊ก ดังนั้นเราจึงได้เห็นว่าในขณะที่ Boomfield มีบัสแบบ QPI แต่ Lynnfield ไม่มี อย่างไรก็ตามในภาพรวมที่ทุกแพลตฟลอร์มทุกตลาดต้องการประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้นด้วยกันทั้งนั้น การที่นำวงจรควบคุมหน่วยความจำมาเป็นส่วนหนึ่งของซีพียูเลยจึงสามารถเห็นได้ทั้งใน Boomfiled และ Lynnfield แต่ในที่สุดก็ยังมีความแตกต่างในเรื่องของจำนวน Channel ในการเข้าถึงหน่วยความจำอยู่ดี
รายการที่เราจะแสดงให้เห็นต่อไปนี้คือสิ่งที่อินเทลได้ออกแบบไว้กับ Nehalem เพื่อใช้ปรับเปลี่ยนในการสร้างซีพียูให้เหมาะสมกับตลาดแต่ละแบบนั่นเอง ได้แก่
· จำนวนคอร์
· ความสามารถในการทำงานในแบบหลายโปรเซสเซอร์
· คุณสมบัติการทำงานด้าน Hyper-Threading
· ขนาดแคชระดับสาม
· จำนวนลิงค์ QPI
· การจัดเส้นทางชั้นสูงเช่น ไดเร็กทอรี
· ตัวควบคุมหน่วยความจำแบบรวมหรือแบบแยก
· ชนิดของหน่วยความจำ
· จำนวนช่องหน่วยความจำ (Dual-Channel, Tri-Channel)
· กราฟิกรวมหรือแยก
· การใช้พลังงานและการให้สัญญาณนาฬิกา
· การอ้างอิงแอดเดรสเสมือนและแอดเดรสกายภาพ
คุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้เรายังอาจจะเห็นได้ไม่ครบ เพราะอินเทลยังไม่ได้ทำการเปิดตัว Nehalem ที่ใช้กับตลาดโน้ตบุ๊กนั่นเอง รวมไปถึงแพลตฟอร์มสำหรับเดสก์ท็อปในระดับล่าง ซึ่งในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าเราก็คงจะได้เห็นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน
สิ่งที่เหมือนกันระหว่าง Boomfield กับ Lynnfield ก็คือ เป็นซีพียูที่มีการนำวงจรควบคุมหน่วยความจำ (Memory Controller) ซึ่งเมื่อก่อนส่วนจะอยู่ในชิปเซตนอร์ธบริดจ์มารวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของซีพียูด้วยเลย ทำให้ซีพียูที่สร้างจากสถาปัตยกรรม Nehalem นั้นมีความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้นอย่างมาก

การทำงานของชิปเซต
ก่อนจะไปดูรายละเอียดการทำงานของชิปเซตต้องลองดูรูปบล๊อกไดอะแกรมเหล่านี้ดูก่อนครับ ตั้งแต่ X48 X58 และ P55 ก็จะทำให้มองเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนในระดับหนึ่ง

x48_block_diagramบล็อกไดอะแกรมของชิปเซต X48 ที่ทำงานร่วมกับซีพียูตระกูล Core 2


X58_blockdiagramบล็อกไดอะแกรมของชิปเซต X58 ที่ทำงานร่วมกับ Boomfield

p55_diagramบล็อกไดอะแกรมของชิปเซต P55 ที่ทำงานร่วมกับซีพียู Lynnfield

รูปบล็อกอันแรกเป็นของชิปเซต X48 ที่ใช้งานร่วมกับซีพียูในตระกูล Core 2 บล็อกไดอะแกรมอันที่สองเป็นของชิปเซต X58 ที่ใช้งานร่วมกับซีพียู Core i7-900 และบล็อกไดอะแกรมที่สามก็คือชิปเซต P55 ที่ใช้งานร่วมกับซีพียู Lynnfield ซึ่งก็คือ Core i5 และ Core i7-800 นั่นเอง
ถ้าเราย้อนกลับไปมองบล็อกไดอะแกรมของชิปเซต X48 ซึ่งบล็อกไดอะแกรมนี้ก็จะมีลักษณะเหมือนกับซีพียูรุ่นอื่นๆ ของอินเทลทั้งหมดก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรม Nehalem ในรูปนี้เราจะเห็นได้ว่าส่วนสำคัญอย่างวงจรควบคุมหน่วยความจำนั้นจะอยู่ในชิปเซตนอร์ธบริดจ์ และทำการเชื่อมต่อกับซีพียูโดยการผ่าน FSB นั่นเอง
พอเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของซีพียูมาใช้ Nehalem ที่มีวงจรควบคุมหน่วยความจำภายในตัว ชิปเซตส่วนที่เป็นนอร์ธบริดจ์นั้นแทบจะหมดความสำคัญไปเลยทีเดียว หน้าที่เพียงอย่างเดียวของชิปนอร์ธบริดจ์ในชิปเซต X58 ก็คือทำหน้าที่เป็น I/O และ Controller ให้กับบัส PCI Express X16 เท่านั้นเอง แต่ว่าตัวชิปนอร์ธบริดจ์นั้นจะทำการเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เฟซแบบ QPI (Quick Path Interconnection) ที่มีแบนด์วิดธ์สูงทำให้สามารถส่งข้อมูลจากบัส PCI Express x16 ไปยังซีพียูทำได้อย่างรวดเร็ว
และการเปลี่ยนแปลงก็เริ่มอีกครั้งเมื่ออินเทลเปิดตัว Lynnfield กับชิปเซต P55 ซึ่งทำให้เราเห็นว่าจากระบบเดิมที่มี 3 ชิป คือซีพียู ชิปนอร์ธบริดจ์ และชิปเซาธ์บริดจ์ ก็จะเหลือเพียงสองชิปหลักๆ เท่านั้นคือ ส่วนของซีพียู และชิปเซตเซาธ์บริดจ์ ซึ่งอันที่จริงต้องเรียกว่าชิป I/O หรือชิป ICH มากกว่า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าซีพียู Lynnfield นั้นไม่เพียงแต่นำวงจรควบคุมหน่วยความจำไปใว้ในตัวซีพียูด้วยเลย แต่ว่าการที่ Lynnfield ไม่ได้นำอินเทอร์เฟซแบบ QPI มาใช้ ทำให้อินเทลสามารถนำส่วนที่ทำหน้าที่ในการอินเทอร์เฟซและควมคุมการทำงานมาไว้ในตัวซีพียูด้วยเลย

Boomfield-dieโครงสร้างการวางตำแหน่งต่างๆ ที่สำคัญของซีพียู Core i7-900 (Boomfield)

Lynnfield-Dieโครงสร้างการวางตำแหน่งต่างๆ ในซีพียู Lynnfield จะเห็นได้ว่าภายในซีพียูจะมีทั้งวงจรควบคุมหน่วยความจำ และส่วนที่เป็นอินเทอร์เฟซกับ PCI Express x16 ที่เป็นบัสความเร็วสูงอีกด้วย

Core-i5-i7ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติซีพียู Core i5, Core i7 แบบซ็อกเก็ต LGA1156 และ Core i7 แบบซ็อกเก็ต LGA1366

การกลับมาของ Hyper-Threading
หากย้อนเวลากลับในช่วงปี 2003 อินเทลได้นำเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Hyper-Threading มาใช้ในซีพียู Pentium 4 เป็นครั้งแรกซึ่งทำให้ซีพียู Pentium 4 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในลักษณะของมัลติเธรดได้เป็นอย่างดี แต่พอมาถึงในยุคของ Core/Core 2 เทคโนโลยี Hyper-Threading ไม่ได้ถูกนำมาใส่ไว้ในซีพียูในตระกูล Core/Core 2 ซึ่งเกิดสาเหตุเรื่องการจัดการหน่วยความจำแล้ว สาเหตุที่สำคัญจริงๆ ก็คือเรื่องของการใช้พลังงานและความร้อนของตัวซีพียูนั่นเอง แต่สำหรับสถาปัตยกรรม Nahalem ที่มีการปรับปรุงใหม่รวมไปถึงกระบวนการผลิตซีพียูที่มีความทันสมัยมากขึ้นทำให้เรื่องของการใช้พลังงานและความร้อนจากตัวซีพียูไม่ใข่ปัญหาอีกต่อไป อินเทลจึงได้นำเทคโนโลยี Hyper-Threading กลับมาอีกครั้ง และถ้าลองดูในตารางการทดสอบของ Core i7-870 ก็จะพบว่าการทำงานส่วนใหญ่เมื่อเปิดคุณสมบัติแบบ Hyper-Threading แล้ว จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาจจะมีเพียงบางโปรแกรมเท่านั้นอย่างเกม FarCry2 และ Street Fighter 4 ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากจำนวนเธรดที่เพิ่มขึ้นมาในแต่ละคอร์ของซีพียู

 
Intel Core i7-870
(HT Off)
Intel Core i7-870
(HT On)
Performance Difference
Cinebench R10 64-bit: xCPU
16170
18115
+12%
WinRAR 3.8.0 Compression
185 secs.
162 secs.
+14%
x264 HD Benchmark
21.31 FPS
26.33 FPS
+24%
3DMark Vantage: CPU Score
14639
19543
+33%
Far Cry 2
72.18 FPS
71.40 FPS
0%
Left 4 dead
126.11 FPS
128.97 FPS
+2%
Street Fighter 4
192.76 FPS
192.69 FPS
0%
Valve Particle Simulation Benchmark
138 Score
152 Score
+10%
ตารางเปรียบเทียบประสิทธิภาพเมื่อเปิดใช้งานคุณสมบัติแบบ Hyper-Threading

Turbo Boost อาวุธลับที่สำคัญ
Turbo Boost เป็นคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานของซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม Nehalem ได้อย่างน่าสนใจ โดยคุณสมบัตินี้จะทำการเร่งความเร็วของการประมวลผลของคอร์ในตัวซีพียูให้เพิ่มขึ้นได้ ถ้าหากตรวจสอบพบว่าคอร์อื่นๆ มีการทำงานไม่มากนัก หรือไม่ทำงาน ซีพียูก็จะทำการเร่งความเร็วให้กับคอร์ที่กำลังประมวผลอยู่ในทันที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งคุณสมบัตินี้จะให้ประโยชน์อย่างมากโปรแกรมรุ่นเก่าที่ไม่รองรับการทำงานแบบมัลติคอ รวมไปถึงโปรแกรมอื่นๆ ที่อาจจะไม่ได้ใช้การประมวลผลของทุกคอร์อย่างเต็มที่ซีพียูก็จะแร่งความเร็วให้กับคอร์ที่กำลังประมวลผลอยู่ด้วยเช่นกัน

Turbo-boost-corei5_corei7ภาพแสดงการทำงานของเทคโนโลยี Turbo Boost

อินเทลบอกว่าคุณสมบัติเรื่อง Turbo Boost นั้น เป็นคนละเรื่องกับการโอเวอร์คล๊อก เพราะการโอเวอร์คล๊อกนั้นเป็นการปรับแต่งคุณสมบัติในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดมาให้ แต่ว่าการทำงานในแบบ Turbo Boost นั้น แม้ว่าจะเป็นการทำให้คล๊อกสปีดของตัวซีพียูเพิ่มขึ้น แต่ว่าการเพิ่มขึ้นมาของคล๊อกสปีดนั้นเป็นการเพิ่มอย่างมีเงื่อนไข และอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบทั้งหมดเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งเงื่อนไขที่ว่าก็คืออัตราการใช้พลังงาน และความร้อนที่เกิดขึ้นจากการทำงานนั่นเอง เพราะถ้าดูในรูปเราก็จะเห็นว่าในบางขณะแม้ว่าซีพียูจะทำการประมวลผลทั้ง 4 คอร์ครบถ้วนแล้วก็ตาม Turbo Boost ก็ยังสามารถทำงานได้อีก ทั้งนี้เป็นเพราะว่าแม้จะมีการประมวลผลทั้ง 4 คอร์ แต่ว่าการใช้พลังงานในการประมวลและความร้อนที่เกิดขึ้นในตัวซีพียู ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซีพียูจึงสามารถที่จะเพิ่มความเร็วในการทำงานให้กับตัวเองขึ้นไปได้

intel_pcuPCU หรือ Power Control Unit ที่ช่วยควบคุมการใช้พลังงานของวงจรภายในซีพียู และ PCU นี้นี่แหละที่ช่วยให้คุณสมบัติเรื่อง Turbo Boost ทำงานได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่า Turbo Boost ไม่ใช่การโอเวอร์คล๊อก ดังนั้นความเร็วในการทำงานจะมีการเพิ่มขึ้นและลดลงโดยอัตโนมัติตามการใช้งานของซีพียู ผิดกับการโอเวอร์คล๊อกที่เราพยายามทำให้ซีพียูทำงานด้วยความเร็วสูงสุดอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

turbo-boostตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติ Turbo Boost ของซีพียูแต่ละรุ่น

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Clarkdale (Core i5-600 และ Core i3-500)
ในวันนี้เราได้เห็นประสิทธิภาพของ Core i5-750 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ว่าซีพียูในตระกูล Core i5 นี้จะมีตามออกมาอีกหลายรุ่น และความน่าสนใจก็คือเป็นซีพียูที่มีการรวมหน่วยประมวลผลด้านกราฟิกไว้ในตัวด้วยเลย ซึ่งซีพียูในกลุ่มนี้จะเป็นซีพียูแบบ Dual-Core ซึ่งจะเป็นซีพียูที่เข้ามาทดแทนซีพียู Core 2 Duo ทั้งหลายนั่นเอง และนอกจากจะมีซีพียู Core i5 แล้ว อินเทลยังได้เตรียมซีพียู Core i3 สำหรับตลาดผู้ใช้ในระดับทั่วไปอีกด้วย และสำหรับตลาดที่เน้นในเรื่องของราคาอินเทลก็มีซีพียู Pentium เอาไว้รองรับอีกด้วย

Graphics-in-Corei5โครงสร้างของกราฟิกชิปที่จะถูกรวมไว้ในซีพียูที่มีชื่อรหัสว่า Clarkdale

core-i5-i3

อ้างอิง : http://www.quickpcextreme.com





Intel core i7 โปรเซสเซอร์สุดยอดแห่งยุค



5.Intel core i7


ความเร็วที่น่าทึ่งสำหรับงานที่หนักที่สุด ก้าวสู่อีกระดับของประสิทธิภาพแบบ Multi-core ด้วย Intel® Core™ i7 โปรเซสเซอร์สำหรับเดสก์ท็อปที่ดีที่สุด โปรเซสเซอร์ตระกูลนี้ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเพื่อมอบขุมพลังสำหรับการประมวลผลในทันทีที่คุณต้องการ นอกจากนี้ ความเร็วและประสิทธิภาพที่เหลือเชื่อของ Intel Core i7 จะช่วยให้คุณทำงานแบบ Multitaskได้เร็วขึ้น 25% พร้อมทึ่งไปกับประสบการณ์การสร้างสรรค์งานมัลติมีเดีย

คุณสมบัติหลัก

การสร้างสรรค์ที่ไร้ขีดจำกัด ปลดปล่อยจินตนาการของคุณสู่โลกกว้าง Intel® Core™ i7 ช่วยให้การสร้างเนื้อหาแบบดิจิตอลทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนด้วยการเข้ารหัสวิดีโอที่รวดเร็วขึ้นถึง 40%และประสิทธิภาพที่น่าทึ่งสำหรับการใช้งาน แอพพลิเคชั่นเช่น การเรนเดอร์ภาพรวมถึงการรีทัช และการตัดแต่งภาพ

วิธีการที่ชาญฉลาดกว่าในการทำงานและเล่น

Intel Core i7 ให้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นมัลติมีเดียที่ซับซ้อน หรือเพียงแค่เขียนอีเมล ด้วย หน่วยความจำที่มากกว่า สองเท่า‡3 และประสิทธิภาพแบนด์วิดธ์สำหรับการเข้าถึงหน่วยความจำได้อย่างรวดเร็ว คุณจึงไม่ต้องนั่งรออีกต่อไปเมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์

เส้นทางการไหลเวียนของข้อมูลที่เพิ่มขึ้น

สร้างขึ้นโดยใช้ Intel® Hyper-Threading Technology (Intel® HT Technology) ประสิทธิภาพสูงสุดของ Intel Core i7 มาจากแกนประมวลผล 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะประกอบด้วย 2 Thread แทนที่จะมีเพียง 1 Thread ข้อมูลที่ถูกส่งผ่าน 8 Thread ช่วยให้คุณสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้พร้อมกันมากขึ้นและทำงานได้มากกว่า

การเล่นเกมที่เหนือขอบเขต

สัมผัสขุมพลังสูงสุดสำหรับเกมที่ซับซ้อนที่สุดของวันนี้ ด้วยการกระจาย AI ระบบฟิสิกส์ และการเรนเดอร์ไปยังซอฟท์แวร์ 8 Thread ที่ Intel Core i7 ช่วยให้คุณเอาชนะเหล่าร้ายในขณะที่พีซีของคุณกำลังรับมือกับการเรนเดอร์ภาพ และการเล่นเกมขั้นสูงในอนาคตสมรรถนะตามความต้องการต้องขอบคุณ Intel® Turbo Boost Technology7 ที่ทำให้คุณได้รับพลังการประมวลผลในทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการ คุณลักษณะที่ชาญฉลาดนี้ช่วยเร่งความเร็วในการทำงานเพื่อรองรับภาระงานของคุณ คุณจึงสามารถเพลิดเพลินไปกับความเร็วสูงสุดเมื่อใช้งานแอพพลิเคชั่นซึ่งต้องการพลังประมวลผลขั้นสูง

การวัดประสิทธิภาพ

การทดสอบแสดให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ Intel® Core™ i7-920 ใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับ Intel Core™2 Quad Q9450

ประสิทธิภาพยอดเยี่ยมสำหรับภาระงานที่ต้องการพลังคำนวณสูง หากคุณจำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลัง Intel® Core™ i7-920 คือคำตอบ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณฟิสิกส์ ปัญญาประดิษฐ์ หรือไดนามิกส์ของเหลว มั่นใจได้ใน Intel® Core™ i7 ตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดของคุณ

มัลติทาสก์งานด้วย Adobe Premiere Elements* 4 และ ImToo* YouTube* to iPod* Converter

สามารถเปิด 2 โปรแกรมได้พร้อมกัน แทนที่จะใช้ทีละตัว Intel® Core™ i7-920 ช่วยให้คุณสัมผัสประสิทธิภาพการทำงานที่ราบรื่นในขณะที่ใช้โปรแกรมหลายๆ ตัวพร้อมกัน ผลการทดสอบที่ได้แสดงให้เห็นถึงเวลาที่ใช้ในการตัดต่อแก้ไขวิดีโอ 1 นาทีจากกล้องวิดีโอ HD พร้อมกับการแปลงไฟล์วิดีโอ Flash 5 ไฟล์ ความยาว 8 นาทีจาก YouTube

สร้างสไลด์โชว์ที่น่าประทับใจ

แบ่งปันความทรงจำดีๆ กับเพื่อนและครอบครัวด้วย DVD พีซี และเว็บ สร้างสไลด์โชว์ที่สวยงามน่าชมได้อย่างรวดเร็วด้วยIntel® Core™ i7-920 ใหม่ ผลที่ได้ ถูกประเมินเพื่อคำนวณจำนวนของภาพถ่ายที่คุณสามารถเตรียมได้โดยใช้เวลา 5 นาที

การตัดต่อวิดีโอโดยใช้ Adobe Premiere* Pro CS3

การทำงานกับข้อมูล HDV 1080p เป็นงานที่ต้องใช้ CPU และพลังในการคำนวณมหาศาล ด้วย Intel® Core™ i7-920 ใหม่ คุณสามารถใส่เอฟเฟกต์และเรนเดอร์วิดีโอ Hi-def ได้รวดเร็วกว่าที่เคย ผลที่ได้ถูกประเมินเพื่อคำนวณเวลาที่ใช้ในการตัดต่อแก้ไขและเรนเดอร์วิดีโอ Hi-Def ความยาว 5 นาที

สร้างวิดีโอและวิชวลเอฟเฟกต์ที่ล้ำสมัย
ในฐานะวิดีโอระดับมืออาชีพคุณต้องผ่านขึ้นตอนที่ต้องใช้เวลามากมายในการใส่ฟิลเตอร์และเอฟเฟกต์ต่างๆ เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์แบบสมกับที่คุณรอคอย Intel® Core™ i7-920 ช่วยให้คุณผ่านขั้นตอนต่างๆ ที่เสียเวลารอได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นคุณจึงสามารถชมผลงานของคุณ และทำงานได้ทันเวลา ผลที่ได้ถูกประเมินเพื่อคำนวณเวลาที่ใช้ในการเข้ารหัสวิดีโอ Hi-Def ความยาว 30 นาที



[บน] cpuz แสดงรายละเอียดซีพียู Intel Core i7 920 2.66GHz

[ล่าง] cpuz แสดงรายละเอียดซีพียู Intel Core 2 Extreme QX9770 3.20GHz

ในการทดสอบเราได้เทสท์เปรียบเทียบซีพียูที่แรงที่สุดในตระกูล Core 2 คือตัว Core 2 Extreme QX9770 3.2GHz โดยใช้เมนบอร์ด XFX ชิพ nForce 780i แรม DDR2 800MHz 2GB ส่วนการ์ดจอเป็นตัวเดียวกันครับ มาเริ่มทดสอบด้วยโปรแกรมแบนช์มาร์กพื้นฐาน 3DMark06 ในชุด Core i7 ได้คะแนนรวมไปที่ 16,374 แต้ม ส่วนชุด QX9770 นั้นได้น้อยกว่าเล็กน้อยที่ 16,319 แต้ม ถ้าดูถึงคะแนนไม่เห็นถึงแตกต่างกันแต่อย่าลืมว่า Core i7 920 นั้นมีความเร็วสัญาณนาฬิกาต่ำกว่า QX9770 ถึง 540MHz มาดูคะแนนในส่วน 3DMark CPU Score ที่เน้นทดสอบเฉพาะซีพียูอย่างเดียว โดย Core i7 ได้ 5,383 แต้ม QX9770 ได้ 4,816 แต้ม ซึ่งในส่วนนี้เห็นความแตกต่างได้ว่าแพลตฟอร์ม Core i7 (Nehalem) นั้นแรงกว่า Core 2 สถาปัตยกรรม 45 นาโนเมตร (Penryn) ไปอีกระดับหนึ่ง

สำหรับเกมที่รองรับซีพียู 8 คอร์ ตอนนี้คือ Lost Planet ถึงแม้เกมจะเก่าแล้วแต่เอนจิ้นทำ ออกมาได้ดีมากใช้พลังของคอร์ทั้ง 8 คอร์ (4 คอร์แท้บวกกับ 4 คอร์เทียมของ Hyper - Threading) ของ Core i7 อย่างเต็มที่ มาดูผลทดสอบกันในฉาก cave ที่เน้นแรงประมวลผลของซีพียูในการคำนวน Ai เป็นหลักนั้น Core i7 ได้เฟรมเรตเฉลี่ยที่ 84 fps ส่วน QX9770 ได้ไปเพียง 66.1 fps ต่างกันเกือบ 20 เฟรมเห็นได้ว่าเกมที่รองรับซีพียูแบบมัลติคอร์จะแสดงถึงความแตกต่างของสถาปัตยกรรมเก่าและใหม่ได้อย่างดีความเร็วของฮาร์ดดิสก์SSDนั้นเป็นอีกเรื่องที่ขอบอกต่อว่ามันเร็วเอามากๆเห็นผลได้ชัดที่สุดคือตอนโหลดเข้าเกมต่างๆ นั้นเร็วขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดเจนอย่างCrysis ตอนโหลดเข้าฉากแต่ละฉากนั้นถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ธรรดาจะใช้เวลานานพอสมควร แต่พอใช้ SSD นั้นเร็วขึ้นแบบเท่าตัวเลย

ลองโอเวอร์คล็อก

เพื่อที่จะได้เห็นความแตกต่างของซีพียูตระกูล Core i7 และ Core 2 ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราได้นำ Core i7 920 มาโอเวอร์คล็อกไปที่ 3.2GHz ให้เท่ากับ QX9770 โดยใน 3DMark06 ได้เพิ่มไปถึง 18594 คะแนน มากกว่า QX9770 ที่มีสัญญาณนาฬิกาเท่ากันถึง 2400 แต้ม ยิ่งถ้าเป็น CPU Score Core i7 ฉีกคะแนนทิ้งห่างมากกว่าเดิมเป็น 6127 แต้ม จากเดิมที่ 5385 แต้ม ส่วน QX9770 ได้เพียง 4816 แต้ม ส่วนเกมอื่นๆ เห็นผลจากการโอเวอร์คล็อกเล็กน้อยเพียง 1 – 2 เฟรมเท่านั้น

สรุปส่งท้าย

จากการทดสอบที่ได้เห็นกันไปนั้นความแรงของ Core i7 นั้นเห็นผลได้ชัดเจนมากๆ กับเกมที่รองรับซีพียูแบบมัลติคอร์ ส่วนเกมที่ไม่รองรับซีพียู Quad – Core หรือมากกว่านั้นแทบจะไม่เห็นความแตกตต่างของคะแนนเลย แต่อย่าลืมว่าการที่เกมๆ หนึ่งจะเล่นได้อย่างลื่นไหลนั้น ต้องไม่ได้ว่าจากซีพียูเป็นหลักเพียงอย่างเดียว ซึ่งเกมในปัจจุบันเน้นการประมวลผลกราฟิกการ์ดเป็นส่วนสำคัญ แต่ในอนาคตถ้ามีเกมที่รองรับการใช้งานซีพียูหลายๆ คอร์อย่างเต็มที่ละก็ Core i7 จะแสดงประสิทธิภาพได้ดีกว่านี้แน่นอน 


อ้างอิง : http://www.chandra.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น